ทำไมการควบคุมการฆ่าเชื้อในน้ำล้างอาหารสดถึงสำคัญ ?

อาหารสดต้องล้างฝุ่น ดิน สารเคมีตกค้าง พวกจุลินทรีย์ ที่จะทำให้อาหารเสียคุณภาพและเสียไว

การล้างอาหารสดด้วยน้ำสะอาดจะช่วยกำจัดจุลินทรีย์ได้ในระดับหนึ่ง แต่ยังต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเพิ่มเติมเพื่อความสะอาด และความปลอดภัยของผู้บริโภค

เราควรควบคุมให้แน่ใจว่าเราใช้สารฆ่าเชื้อในปริมาณที่ถูกต้อง หากไม่มีการทดสอบเป็นประจำ คุณอาจใช้สารฆ่าเชื้อมากเกินจำเป็นหรือน้อยเกินจำเป็น ซึ่งทั้งสองอย่างนี้อาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ การใช้สารฆ่าเชื้อน้อยเกินไปแน่นอนว่าส่งผลต่อความสะอาดและความปลอดภัย และการใช้สารฆ่าเชื้อมากเกินไปอาจส่งผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์และแน่นอนอีกว่าจะเพิ่มต้นทุนสารเคมี

สารฆ่าเชื้อหลักๆที่นิยมใช้ในการล้างอาหารสด

  • สารฆ่าเชื้อคลอรีนมีการใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากมีประสิทธิภาพและมีราคาค่อนข้างต่ำ อย่างไรก็ตาม คลอรีนได้รับผลกระทบอย่างมากจากค่า pH อุณหภูมิ และความสะอาดของน้ำที่ใช้ล้าง ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจสอบอย่างรอบคอบ
  • ประสิทธิภาพของคลอรีนจะลดลงตามความขุ่นที่เพิ่มขึ้น และมีประสิทธิภาพน้อยลงในไบโอฟิล์มและจุลินทรีย์บางชนิด นอกจากนี้ แสงและโลหะสามารถทำให้เกิดการสลายตัวของคลอรีนได้
  • ยิ่งน้ำสกปรก ยิ่งต้องใช้คลอรีนมากขึ้น เนื่องจากคลอรีนจะทำงานได้ไม่ดีในน้ำที่มี organic matter เยอะ
  • การใช้กรดเปอร์อะซิติกหรือที่เรียกว่ากรดเปอร์ออกซีอะซิติกหรือ PAA เริ่มเติบโตขึ้นเพื่อนำมาใช้เป็นสารฆ่าเชื้อ การรับรองจากสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) สนับสนุนการใช้ PAA ในการล้างอาหารและผักผลไม้สด นอกจากนั้น PAA ยังได้รับความนิยมเนื่องจาก By-product ที่ได้จากการฆ่าเชื้อลดลง และไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมหรือสุขภาพ
  • PAA มีประสิทธิภาพในการต่อต้านจุลินทรีย์หลายชนิดและใช้งานได้ดีแม้ในน้ำมีปริมาณอินทรียวัตถุสูง และมีประสิทธิภาพแม้ในอุณหภูมิต่ำ
  • การศึกษาโดย CEBAS แจ้งว่าเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ของ Palintest เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการทดสอบ PAA ในการผลิตน้ำล้าง หากต้องการอ่านบทความเต็ม คลิกที่นี่
  • สำหรับการบำบัดน้ำล้างอาหารสดด้วย PAA มักใช้ระหว่างช่วง 30 ppm ถึง 80 ppm โดยจะใช้ความเข้มข้นสูงขึ้นในระบบสุขาภิบาล PAA ที่ความเข้มข้นสูงเกินไปเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน ดังนั้นจึงควรได้รับการดูแลและติดตามอย่างสม่ำเสมอ
  • คลอรีนไดออกไซด์เป็นก๊าซที่ใช้ฆ่าเชื้อในการล้างอาหารและเครื่องดื่มต่างๆ ใช้ได้ดีกว่าสารฆ่าเชื้อจากไฮโปคลอไรท์ถึง 2.5 เท่า และได้รับผลกระทบจาก pH และอินทรียวัตถุน้อยกว่าเมื่อเทียบกับคลอรีน
  • คลอรีนไดออกไซด์มีประสิทธิภาพสูงในการฆ่าเชื้อ มีสารตกค้างเหลือน้อยหลังการฆ่าเชื้อ
  • คลอรีนไดออกไซด์มีฤทธิ์กัดกร่อนน้อยกว่าคลอรีน แต่อาจทำให้เกิด By-product ที่เป็นอันตรายเช่น Chlorite
  • โอโซนเป็นก๊าซไม่มีสีที่เป็นตัวออกซิไดเซอร์อย่างแรง มีประสิทธิภาพสูงในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ แต่ไม่ได้เหมาะสำหรับระบบอาหารสดทั้งหมดเนื่องจากมีข้อจำกัดในการปฏิบัติงาน
  • โอโซนจะสลายกลายเป็นออกซิเจนอย่างรวดเร็วเมื่อสัมผัสกับน้ำ และเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วเมื่อเจออินทรียวัตถุ เมื่อเสื่อมสภาพแล้ว จุลินทรีย์ที่หลงเหลือก็ไม่ได้ถูกกำจัด ทำให้โอโซนใช้ไม่ได้ผล ประสิทธิภาพของโอโซนขึ้นอยู่กับเวลาในการสัมผัสและความเข้มข้นที่เหลือ
  • โอโซนอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน ดังนั้นควรมีการควบคุมดูแลและติดตามอย่างใกล้ชิด
external

ควรพิจารณาอะไรบ้างในการเลือกสารฆ่าเชื้อสำหรับน้ำล้างอาหารสด?

มีหลายปัจจัยที่ควรพิจารณาเมื่อเลือกน้ำยาฆ่าเชื้อ ได้แก่

  • การออกแบบระบบการล้าง
  • ปริมาณสารอินทรีย์ในน้ำ
  • จำนวนจุลินทรีย์ในน้ำ
  • ข้อบังคับเกี่ยวกับ by-product จากการฆ่าเชื้อ
  • อุณหภูมิของน้ำล้างที่ต้องการ
  • คุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์
  • ความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน
  • ความปลอดภัยของอาหารโดยรวม
  • ความปลอดภัยของผู้บริโภค

เราสามารถควบคุมสารฆ่าเชื้อสำหรับน้ำล้างอาหารสดได้อย่างไร?

Kemio เป็นเครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยสำหรับการวัดค่าโบรมีน คลอรีน (Free and Total) คลอรีนไดออกไซด์ คลอไรท์ และ PAA ได้ในเครื่องมือเครื่องเดียว โดยใช้เซ็นเซอร์แต่ละชนิด ซึ่งง่ายกว่าวิธีทดสอบแบบเดิมเพราะ Kemio ใช้ electrochemical technic ที่ขจัดความยุ่งยากออกไป ได้ผลลัพธ์ที่เชื่อถือได้ในแต่ละครั้ง 

Kemio ออกแบบมาเพื่อให้การตรวจสอบน้ำง่ายมากขึ้นเพื่อทดสอบความปลอดภัยของน้ำ Kemio เหมาะสำหรับผู้ใช้ทุกคนและพร้อมใช้งานทันทีที่แกะกล่อง โดยไม่ต้องมีการฝึกอบรมใดๆ สามารถดูวิดีโอสาธิตการใช้งานเครื่อง Kemio โดย คลิกที่นี่
external